ขึ้นทะเบียนประกันสังคม สำคัญอย่างไร พร้อมอธิบายวิธีทุกขั้นตอน
สำหรับนายจ้างหรือผู้ประกอบการ นอกจากเรื่องของระบบการวางแผนภาษีต่าง ๆ ที่ต้องใส่ใจและทำความเข้าใจเป็นอย่างดีนั่นแล้ว อีกอย่างหนึ่งที่เจ้าของกิจการต้องรู้นั่นก็คือเรื่องของประกันสังคมที่ ซึ่งในบทความนี้ เรา สไมล์ แอค 888 จะมาอธิบายให้ได้เข้าใจว่า ขึ้นทะเบียนประกันสังคม คืออะไร สำคัญอย่างไรบ้าง ประโยชน์ของการทำประกันสังคมสำหรับผู้ประกอบการหรือรายจ้าง นายจ้างไม่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม ได้ไหม? พร้อมอธิบายวิธีขึ้นทะเบียนสำหรับนายจ้างทุกขั้นตอน
ขึ้นทะเบียนประกันสังคม สำคัญอย่างไร?
การขึ้นทะเบียนประกันสังคม สำคัญทั้งสำหรับนายจ้างและลูกจ้าง สำหรับนายจ้าง การขึ้นทะเบียนจะเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งนายจ้างจะต้องขึ้นทะเบียนลูกจ้างภายใน 30 วันหลังเริ่มงาน และสำหรับลูกจ้าง ลูกจ้างจะได้รับสิทธิประโยชน์ของประกันสังคม สิทธิในการเข้ารับการรักษาพยาบาล ค่าคลอดบุตร เงินชดเชย ได้รับเงินทดแทนระหว่างช่วงว่างงาน รวมถึงเงินบำนาญเมื่อถึงวัยเกษียณ ทำให้การขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งสำคัญเพื่อผลประโยชน์ของทั้งนายจ้างและลูกจ้าง
ประโยชน์ของการขึ้นทะเบียนประกันสังคมสำหรับผู้ประกอบการ
การขึ้นทะเบียนประกันสังคมสำหรับนายจ้างก็มีประโยชน์เช่นกัน ไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์สำหรับลูกจ้างเท่านั้น ซึ่งประโยชน์ของการขึ้นทะเบียนสำหรับนายจ้าง เช่น
- ลดความเสี่ยงทางกฎหมาย เพราะการขึ้นทะเบียนเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน ลดความเสี่ยงการถูกฟ้องรองหรือถูกปรับ หากละลายการขึ้นทะเบียนก็อาจถูกปรับได้
- สร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกจ้าง เพราะสวัสดิการ จะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับพนักงาน ซึ่งการขึ้นทะเบียนประกันสังคมจะช่วยสร้างสิ่งนั้นขึ้นมาให้ลูกจ้างสบายใจมากขึ้น หากบริษัทไม่มีประกันสังคม คงไม่มีใครเข้ามาสมัครอยากเป็นพนักงานแน่ ๆ และยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพนักงานด้วย
- สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจ การขึ้นทะเบียนจะทำให้นายจ้างดูมีความรับผิดชอบต่อพนักงานและความถูกต้องของกฎหมาย
- อาจได้สิทธิประโยชน์จากรัฐ การเข้าระบบประกันสังคม สำหรับนายจ้าง อาจได้รับสิทธิประโยชน์จากมาตรการช่วยเหลือธุรกิจ SME หรือมาตรการลดเงินสมทบเมื่อเกิดสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
นายจ้างไม่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม ได้ไหม?
นายจ้างไม่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมไม่ได้ เนื่องจากกฎหมายพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 กำหนดให้นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปต้องขึ้นทะเบียนและส่งเงินสมทบให้ประกันสังคมภายใน 30 วันหลังจากลูกจ้างเริ่มทำงาน หากไม่ขึ้นทะเบียน อาจมีโทษปรับได้และเสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดี กระทบต่อภาพลักษณ์ของธุรกิจ
6 ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนประกันสังคม สำหรับผู้ประกอบการ
การขึ้นทะเบียนประกันสังคม สามารถยื่นจดทะเบียนได้ที่สำนักงานประกันสังคมในเขตพื้นที่สถานประกอบการ หรือสามารถยื่นผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานประกับสังคม โดยวิธีการขึ้นทะเบียน จะมีด้วยกันดังนี้
1. เตรียมเอกสารในการขึ้นทะเบียน
เอกสารที่จำเป็นมีด้วยกันหลายอย่าง ดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประกอบการ
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (สำหรับธุรกิจที่จดทะเบียนบริษัทหรือจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด)
- สำเนาทะเบียนพาณิชย์ (ถ้ามี)
- สำเนาหนังสืออนุญาตตั้งสถานประกอบการ (ถ้ามี)
- รายชื่อลูกจ้างพร้อมเลขบัตรประจำตัวประชาชน
- เอกสารที่ตั้งสถานประกอบการ
2. ยื่นคำขอการขึ้นทะเบียน
ยื่นขอจดทะเบียนประกันสังคมที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ หรือยื่นผ่านทางออนไลน์ของเว็บไซต์ประกันสังคม sso.go.th โดยต้องสมัครการใช้งานและยื่นคำขอ
3. กรอกแบบฟอร์ม
ทำการกรอกแบบฟอร์ม สปส. 1-01 แบบฟอร์มขึ้นทะเบียนนายจ้าง และกรอกแบบฟอร์ม สปส. 1-03 แบบฟอร์มขึ้นทะเบียนลูกจ้างสำหรับลูกจ้างแต่ละคน
4. ยื่นเอกสาร
ยื่นเอกสารทั้งหมดให้กับพนักงานเจ้าหน้าที่ประกันสังคมในเขตพื้นที่หรืออัปโหลดเอกสารต่าง ๆ ผ่านระบบออนไลน์ของเว็บไซต์ประกันสังคม
5. รอการอนุมัติ
หลังจากที่ยื่นเอกสารครบเรียบร้อยและถูกต้อง สำนักงานประกันสังคมจะทำการตรวจสอบเอกสารและอนุมัติการขึ้นทะเบียน หลังจากนั้นนายจ้างจะได้รับเลขทะเบียนประกันสังคมและบัตรประกันสังคมสำหรับลูกจ้างแต่ละคน
6. ชำระเงินสมทบทุกเดือน
หลังจากการขึ้นทะเบียนเสร็จเรียบร้อยและได้รับการอนุมัติเข้าไปอยู่ในระบบของประกันสังคมแล้ว นายจ้างจะต้องชำระเงินสมทบประกับสังคมทุกเดือนโดยคำนวณจากเงินเดือนของลูกค้าง สามารถทำการชำระผ่านธนาคารหรือระบบออนไลน์ได้
สไมล์ แอค 888 รับขึ้นทะเบียนประกันสังคม
การขึ้นทะเบียนประกันสังคม อาจเป็นเรื่องวุ่นวายสำหรับนายจ้างหรือผู้ประกอบการที่เปิดธุรกิจใหม่ เรา สไมล์ แอค 888 จะมีบริการรับขึ้นทะเบียนนายจ้างประกันสังคม รวมถึงการจดทะเบียนประกันสังคมให้กับนายจ้างและการดำเนิน กท.20ก หรือรายงานค่าจ้างประกันสังคมทุก ๆ เดือน นอกจากนี้ เรายังมีบริการจดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด วางระบบบัญชี วางแผนภาษี และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับบัญชีภาษี หากสนใจ สามารถติดต่อได้โดยการคลิกที่นี่
อ่านบทความเพิ่มเติม :
สภาพคล่องทางการเงิน คือ? จะทำอย่างไรเมื่อธุรกิจขาดสภาพคล่อง
8 ประโยชน์ของงบการเงิน ข้อมูลด้านการเงินของบริษัทที่เจ้าของต้องรู้
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ? ใครบ้างที่ต้องจดทะเบียนภาษี VAT