ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่อย่างไรบ้างที่ต้องรู้
เพราะระบบภาษีเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับผู้ประกอบการทุกคน ภาษีรูปแบบหนึ่งที่เราควรให้ความสำคัญนั่นก็คือภาษี VAT หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม หากรายได้เกิน 1.8 ล้านแต่ไม่ได้จด VAT ผู้ประกอบการอาจต้องเจอกับปัญหาเรื่องภาษี ทำให้การไปจดทะเบียนขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นสิ่งสำคัญ หลังจากไปจดแล้ว ผู้ประกอบการต้องทำอย่างไรต่อ? เรา สไมล์แอค 888 จะมาอธิบายให้กระจ่างว่า ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่อย่างไรบ้าง หลังจากจดทะเบียน VAT แล้ว
เอกสารการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือจด VAT
ก่อนจะรู้ว่าผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่อย่างไรบ้าง ก็ขออธิบายขั้นตอนการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือการจด VAT ก่อนว่ามีขั้นตอนอย่างไร ซึ่งขั้นตอนและเอกสารต่าง ๆ ดังนี้
- แบบคำขอจดทะเบียน ภ.พ.01
- หลักฐานที่ตั้งสถานประกอบการ
- สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งสถานประกอบการ
- สัญญาเช่าอาคารอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการ
- สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า/ผู้ยินยอม
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านสถานประกอบการของผู้ให้เช่าหรือผู้ยินยอม
- แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป
- หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบการ
- สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ (สำหรับบุคคลธรรมดา)
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทพร้อมวัตถุประสงค์ (สำหรับบริษัทฯ ห้างหุ้นส่วนฯ)
- หลักฐานที่แสดงฐานะนิติบุคคล
หลังจากที่เตรียมเอกสารเสร็จ ให้ดำเนินการยื่นแบบคำขอได้ 2 วิธี คือการยื่นแบบคำขอผ่านระบบออนไลน์ที่ rd.go.th หรือสามารถยื่นแบบคำขอด้วยกระดาษ ณ หน่วยจดทะเบียนที่ตั้งสถานประกอบการ
ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่อย่างไรบ้าง?
หลังจากการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่อย่างไรบ้าง? หน้าที่สำหรับผู้ประกอบการหลังจดทะเบียนภาษี VAT จะมีด้วยกันดังนี้
1. ออกใบกำกับภาษีทุกครั้งที่มีการขาย
ทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือบริการ ธุรกิจที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องทำการออกใบกำกับภาษี (Tax invoice) ทุกครั้ง โดยในใบกำกับภาษีจะระบุเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ของผู้ขาย จำนวนเงินก่อนภาษี จำนวนภาษีเป็นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% และจำนวนเงินรวมภาษี
2. ทำรายงานภาษีขาย ภาษีซื้อ
ภาษีขาย คือภาษีที่เก็บจากลูกค้าเมื่อมีการขายสินค้าหรือบริการ ส่วนภาษีซื้อ คือภาษีที่จ่ายเมื่อซื้อสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวกับข้องกับธุรกิจ ทำไมเราถึงต้องทำรายงานภาษีทั้งสองอย่างนี้? เพราะเราต้องรวบรวมข้อมูลทั้งสองอย่างเพื่อใช้ในการคำรวณภาษีที่เราต้องชำระ
3. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.30)
สำหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มหรือแบบ ภ.พ.30 จะต้องทำการยื่นแบบทุกเดือน โดยต้องยื่นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยสามารถยื่นได้ที่ระบบออนไลน์เว็บไซต์กรมสรรพากรแล้วเลือกเมนูยื่นแบบภ.พ.30 หรือสามารถเข้ายื่นได้ด้วยตนเองที่สำรักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ หรือยื่นที่สำนักงานสรรพากรอำเภอ
4. จ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT
ก่อนจ่ายจะต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนระหว่างผลต่างของภาษีขายและภาษีซื้อ หลังจากนั้นจะต้องชำระภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปพร้อมยื่นแบบ ภ.พ.30 โดยสามารถยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร
5. จัดทำระบบบัญชีสำหรับจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มโดยเฉพาะ
การจัดทำระบบบัญชีสำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นสิ่งสำคัญ การเลือกใช้บริการสำนักบัญชีกับเรา จะช่วยวางระบบบัญชีและระบบภาษีสำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มโดยเฉพาะขึ้นมา เพื่อดูแลภาษีสำหรับผู้ประกอบการไม่ให้ตกหล่นและเป็นปัญหาเกี่ยวกับภาษีในภายหลัง
สำนักงานบัญชี สไมล์ แอค 888 ดูแลภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้ประกอบการ
ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่อย่างไรบ้าง? เราได้อธิบายไปข้างต้นเป็นที่เรียบร้อย อย่างไรก็ตาม เรื่องภาษีนั้นอาจเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบหลายคนอาจจะยังไม่รู้ โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษี VAT เรา สไมล์ แอค 888 พร้อมบริการดูแลระบบภาษีให้กับผู้ประกอบการทุกรูปแบบ ทั้งภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีรายได้บุคคลธรรมดา นิติบุคคล และภาษีอีกหลายอย่างที่อาจเป็นเรื่องปวดหัวสำหรับผู้ประกอบการ เราจะคอยให้ความรู้เรื่องภาษีกับผู้ประกอบการอยู่เป็นประจำ และเราก็มีบริการตรวจสอบบัญชี ตรวจสอบภาษี วางระบบบัญชี วางแผนภาษี รวมถึงพร้อมบริการจดทะเบียนบริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยเช่นกัน หากสนใจ สามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทร. 02-159-8166,086-899-6643,062-146-9363,095-013-6898 หรือติดต่อเราได้ที่ E-mail : psn_ld@hotmail.com
อ่านบทความเพิ่มเติม :
ภาษีเจ้าของกิจการ ที่เจ้าของกิจการต้องรู้ ป้องกันตกหล่นเรื่องภาษี